การออกแบบและเทคโนโลยี
1. ชัดเจน (focus)
โฟกัสสิ่งที่ต้องการจดจำให้ชัดเจนว่าคืออะไร มีความโดดเด่นตรงไหน ตรงนี้ถือว่าเป็นจุดที่สำคัญที่สุดที่ทำให้พลังของการจดจำมีประสิทธิภาพ
2. บันทึก (files)
เพื่อให้สามารถเรียกข้อมูลกลับมาใช้ได้ในระยะเวลาต่อมา ทุกคนจำเป็นต้องบริหารจัดการความทรงจำ และจัดเก็บข้อมูลไว้ในตู้เก็บไฟล์แห่งความทรงจำอย่างมีระบบและมีระเบียบ เพื่อเวลาเรียกใช้จะได้ง่ายขึ้น
3. ภาษาภาพ (pictures)
จินตนาการสิ่งที่ต้องการจำให้เป็นภาพที่คุ้นเคย หรือภาพที่สะดุดตา และนี่คือเหตุผลที่อธิบายถึงการจดจำหน้าตาของผู้คน แต่ไม่สามารถจำชื่อได้เนื่องจากทุกคนมองเห็นรูปหน้าคน แต่มองไม่เห็นชื่อของคนคนนั้น การจำเป็นภาพก็ใช้หลักการเดียวกัน
4. ติดตรึง (glue)
การจะจดจำบางสิ่งบางอย่าง สิ่งนั้นต้องมีความโดดเด่นเพียงพอที่จะติดตรึงอยู่ในความทรงจำ กระทบกับความรู้สึกของตัวเองอย่างแรง ดังนั้น ภาพที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อจำ จะต้องเป็นภาพที่ติดตรึงในความทรงจำได้ดี มีความเคลื่อนไหว หรือความรู้สึกร่วมด้วย และหากเป็นภาพที่มีความพิเศษมากก็จะยิ่งช่วยให้จำได้ดีขึ้น
5. ทบทวน (review)
การทบทวนสิ่งที่บันทึกไว้ในความทรงจำ เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่จะทำให้สามารถจำ สิ่งต่างๆ ได้ในระยะยาว วิธีการง่ายๆ ตื่นเช้าขึ้นมาให้ถามตัวเองว่า เมื่อวานนี้เราได้พบใครบ้าง เพื่อจะทบทวนรายชื่อของคนที่เราได้พบ แล้วดูว่ามีกี่คนที่คุณสามารถจำได้
*ข้อมูลเพิ่มเติม เพิ่มประสิทธิภาพสมองด้วย 4 วิธี*
1. สมองจะทำงานได้ดีเมื่อได้รับออกซิเจนเยอะ เช่น การนั่งสมาธิ (เพราะเป็นการยืดเวลาการหายใจ) หรือการออกไปสูดอากาศบริสุทธิ์ จะทำให้สมองได้รับออกซิเจนเยอะ
2. สมองจะทำงานได้เมื่อมีเลือดไหลเวียนเลี้ยงสมองเป็นประจำสม่ำเสมอในปริมาณที่มากเพียงพอ การเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังสมอง อาจทำได้โดยว่ายน้ำใต้น้ำ นอนราบกับพื้น และยกเท้าเหนือศีรษะ หรือการทำสมาธิ
3. คนที่ฟังเพลงของ Mozart เป็นเวลา 10 นาทีขึ้นไป จะทำให้มีไอคิวเพิ่มขึ้นจากเดิม 8-9 จุด โดยเฉพาะ Mozart ที่เป็น Sonata for two pianos in d-major K448 แต่ไอคิวที่เพิ่มขึ้นนั้นจะค่อยๆ ลดลงหลังจากฟังจบ 15 นาที วิธีการทำคือ ให้ฟังก่อนทำกิจกรรมสำคัญๆ เช่น ฟังก่อนพูดต่อหน้าสาธารณะชน หรือฟังก่อนเข้าห้องสอบ
4. มีงานวิจัยออกมาว่า ชนเผ่าที่เลี้ยงเด็กแบบ ให้เด็กคลานไปมาตอนเด็กๆ นั้นทำให้เด็กฉลาดมากกว่า และเป็นชนเผ่าที่มีภาษามากกว่าเผ่าที่เลี้ยงแบบผูกติดไว้กับตัว เพราะสภาพแวดล้อมที่เด็กได้รับนั้น Complex มากกว่า